Skip to content

“เข้าวัด ทำวัตร พฤหัสบดี”

วันพฤหัสบดี ที่ 15 สิงหาคม 2567

เวลา 17.00 น.

นางอภิญญา เอี่ยมอำภา รองผู้ว่าราชการจังหวัดสุพรรณบุรี

นำหัวหน้าส่วนราชการ และประชาชนชาวอำเภอบางปลาม้า เข้าวัด สวดมนต์ นั่งสมาธิ ฟังธรรม โครงการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม กิจกรรม “เข้าวัด ทำวัตร พฤหัสบดี” ณ วัดดาว อำเภอบางปลาม้า

🛕
🛕
🛕

โดยในวันนี้ มีหน่วยงานเจ้าภาพคือ สำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร จังหวัดสุพรรณบุรี โดย นางสาวรัชดา พงศ์ภูมิมาศ หัวหน้าสำนักงานสาขาจังหวัดพิจิตรปฎิบัติงานแทนหัวหน้าสำนักงานจังหวัดสุพรรณบุรี พร้อมด้วยน้องๆลูกจ้างฯสาขาจังหวัดสุพรรณบุรี

เข้าร่วมกิจกรรมในวันนี้

ประวัติความเป็นมา

วัดดาว ตั้งอยู่เลขที่ ๗๓ บ้านวัดดาว หมู่ที่ ๔ ตำบลวัดดาว อำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี สังกัดคณะสวฆ์มหานิกาย ที่ดินตั้งวัดมีเนื้อที่ ๓๔ ไร่ ๒ งาน ๖๔ ตารางวา มีปูชนีวัตถุ เป็นที่เคารพนับถือของชาวบ้าน พระพุทธรูปนามว่า หลวงพ่อแสงสว่างฟ้า ลักษณะเดิมมี ๓ ท่อน คือ ท่อนบน ท่อนกลาง ท่อนล่าง เป็นเนื้อทราย ปางมารวิชัย รูปแบบศิลปสมัยอยูธยาตอนต้น ในราวพุทธศตวรรษที่ ๒๐ (อายุราว ๒๐๐ ปี ) ตั้งกระจัดกระจายอยู่หลังโคกร้างวัดดาว พ.ศ.๒๔๗๘ คุณพ่อหลี ซื้อประเสริฐ ได้อุปสมบท และจำพรรษาอยู่ที่วัดดาว ได้อัญเชิญชิ้นส่วนต่างๆของท่านนำมาประกอบเป็นองค์พระประดิษฐานไว้ที่หน้าอุโบสถ แล้วฉาบปูนปั้นครอบองค์เดิมไว้ มีหน้าตักกว้าง ๓ ฟุต ๔ นิ้ว สูง ๔ ฟุต ๖ นิ้ว และจัดงานปิดทองเป็ประจำทุกปี

วัดดาว ตั้งเมื่อ พ.ศ.๒๔๖๖ เดิมเป็นวัดร้างประมาณ ๑๒๐ ปี มีโคกใหญ่ ชาวบ้านนิยมเรียกวาส”โคกวัดดาว” สันนิษฐานว่าเป็นวิหารเก่า ดูจากรอยกำแพงอิฐที่พบเห็นและมีพระพุทธรูป มีเนื้อที่ ๒ ไร่เศษ ต่อมาปี พ.ศ.๒๔๖๖ คุณพ่อจวน พลายจั่น เป็นผู้ริเริ่มสร้างวัดในที่วัดร้าง โดยบริจาคที่ดินที่อยู่ติดกับวัดจำนวน ๑๘ ไร่เศษ คูณแจ้ง คุณแม่เทศ กำลังเสือ ร่วมบริจาคที่ดินอีก ๕ ไร่เศษ คุณพ่อพลอย แจ่มแจ้ง บริจาค ๙ ไร่เศษ และมีคุณพ่อคล้อย บุญญพันธ์ พร้อมด้วยชาวบ้านร่วมกันสร้างวัด ครั้งแรกสร้างกุฏิ ๑ หลัง ได้นิมนต์พระอุ่นจากวัดสังโฆสิตาราม มาจำพรรษาอยู่รูปแรก และได้ตั้งชื่อวัดตามวัดเดิมว่า”วัดดาว” ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อ พ.ศ.๒๔๗๗ เขตวิสุงคามสีมา กว้าง ๒๐ เมตร ยาว ๘๐ เมตร การบริหารและการปกครอง มีเจ้าอาวาสเท่าที่ทรามนาม คือ รูปที่ ๑ พระอุ่น รูปที่ ๒ พระอ่อน รูปที่ ๓ พระเหม รูปที่ ๔ พระล้น รูปที่ ๕ พระหร่ำ รูปที่ ๖ พระใจ รูปที่ ๗ พระปี รูปที่ ๘ พระครูสวอง ปญฺญาสาโร พ.ศ.๒๕๑๒ – ๒๕๒๙ รูปที่ ๙ พระเฉลิม ธมฺมธโช พ.ศ.๒๕๓๐-๒๕๓๑ รูปที่ ๑๐ พระครูศาสนกิจจาภิรม พ.ศ.๒๕๓๑ – ปัจจุบัน

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์